วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ซอฟต์เเวร์คอมพิวเตอร์เเละการเลือกใช้คอมพิวเตอร์

          1.ความรู้เบื้องต้นเกี่วกับซอฟต์เเวร์คอมพิวเตอร์


               ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
               โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
2.ซอฟต์เเวร์ระบบ

               คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากคีย์บอร์ดแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลบนหน่วยความจำ
               เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอมหรือในแผ่นจานแม่เหล็ก(สมัยก่อน) หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้  ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ

2.1ระบบปฏิบัติการ(Operating System) หรือเรียกย่อๆว่าโอเอส(OS)
ทำหน้าที่ประสานงานหรือกำกับดูแลการงานของคอมพิวเตอร์ ในการกำหนดว่าจะเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลไว้ในส่วนใดของหน่วยความจำ ดูแลการติดต่อระหว่างส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมใช้งาน หรือผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการส่งสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ขึ้นไปปรากฏบนจอภาพ ควบคุมการพิมพ์ ตัวอย่างเช่น ควบคุมการแปลสัญญาณจากแป้นพิมพ์ให้เครื่องรับรู้ ควบคุมการบันทึกหรือการอ่านข้อมูลของเครื่องขับแผ่นบันทึก นอกจากนี้ในปัจจุบันการทำงานในลักษณะกลุ่ม และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวาง ทำให้ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆจำเป็นต้องมีความสามารถในการทำงานและให้บริการบนเครือข่ายเพิ่มขึ้นโดยระบบปฏิบัติการมีหน้าที่จัดการงานในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์จัดสรรให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมในเครือข่ายสามารถใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน  เช่น    การใช้งานเครื่องพิมพ์ร่วมกัน และ  ควบคุมดูแลการใช้งานข้อมูลส่วนกลางซึ่งอยู่ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย โดยสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้ที่อยู่ในกลุ่ม มีระบบป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับข้อมูล
-ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เนื่องจากระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้แต่ด้วยเครื่องคอมพิวคอมพิวเตอร์ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานทั่วไปจะมีคุณสมบัติและการทำงานที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการที่ต้องคอยให้บริการและดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นบริวารจำนวนมากระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทนี้จึงต้องมีความซับซ้อนกว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเราสามารถแบ่งประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1) ประเภทใช้งานเดียว (single-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส
2) ประเภทใช้หลายงาน (multitasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการจัดสรรทั้งเวลาและเนื้อที่ที่ต้องใช้ในการประมวลผลคำสั่งของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด เช่น แบ่งปันเวลาในการประมวลผลของซีพียูและแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่งของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 และ 98
3) ประเภทใช้งานหลายคน (multiuser)ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคนแต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อต่อกับคอมพิวเตอร์จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถในการจัดการสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา ระบบปฏิบัติการในกลุ่มนี้ เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เอ็นที
-รูปเเบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ 
       ตามปกติเมื่อซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน มักจะได้ระบบปฏิบัติการมาพร้อมกับเครื่อง ซึ่งสามารถช่วยจัดการให้ผู้ใช้เรียกใช้หรือติดต่อกับเครื่องได้ทันที โดยรูปแบบของการติดต่อกับเครื่องจะขึ้นกับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้ง และซอฟต์แวร์เสริมสภาพแวดล้อมการใช้งาน ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบติดต่อระหว่างเครื่องกับผู้ใช้ให้ใช้ง่ายและทำงานได้รวดเร็วขึ้น ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็นสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด กลุ่มเลือกรายการเมนู และกลุ่มเลือกสัญรูป
1)กลุ่มพิมพ์คำสั่งเข้าทีละบรรทัด
ระบบการติดต่อแบบนี้เป็นระบบติดต่อแบบแรกที่พัฒนามาพร้อมๆ กับคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะมีการพัฒนาระบบอื่นๆ เป็นการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งไม่เอื้อต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก เพราะผู้ใช้จะต้องเรียนรู้หรือจดจำคำสั่งต่าง ๆ ไว้ให้ได้เสียก่อน เช่นการเรียกใช้คำสั่งของดอส ระบบนี้ ผู้ใช้จะมีความสับสนในระยะแรก เพราะจะต้องเรียนรู้คำสั่งว่าใช้งานอะไร และใช้ได้อย่างไร ซึ่งการป้อนหรือพิมพ์คำสั่งเข้าไปจะต้องพิมพ์ไม่ผิดเลย ระบบติดต่อนี้จะใช้ยากและเสียเวลาบ้างถ้าจำคำสั่งไม่ได้ แต่ถ้าใช้ไปนาน ๆ จนคุ้นเคย อาจมีข้อดีที่สามารถเรียกโปรแกรมมาทำงานได้รวดเร็วที่สุด ใช้พื้นที่หน่วยความจำน้อยเพราะลดการแสดงผลในส่วนของกราฟิก
2)กลุ่มเลือกรายการเมนู
ในระบบนี้จะแสดงรายการย่อยของคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นข้อความ ตัวอักษรไม่เป็นรูปกราฟิก ผู้ใช้เพียงแต่เลื่อนตัวชี้ แถบสี หรือสัญลักษณ์ลูกศรขึ้นหรือลง รูปสัญลักษณ์อื่น ๆ ไปยังรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่มเลือกรายการนั้น หรืออาจใช้เมาส์เลือกรายการใช้เช่นกัน ระบบติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องจดจำคำสั่งมาก เพราะจะมีรายการคำสั่งแสดงไว้ให้เลือก
2.2โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ ( Utility Program เป็นโปรแกรมที่สำคัญกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่าระบบปฏิบัติการ คุณสมบัติในการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลายหรือใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ มักนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ยูทิลิตี้ ( Utility ) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
-ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ ( OS Utility Programs ) เป็นยูทิลิตี้ที่มักจะมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอยกตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ใช้ใน Windows ที่ค่อนข้างจะรู้จักกันดี
1)ประเภทการจัดการไฟล์ ( File Manager )เป็นยูทิลิตี้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่าง ๆ เช่น การคัดลอก การเปลี่ยนชื่อ การลบ และการย้ายไฟล์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ ๆ ยังได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer เพื่อนำมาปรับใช้กับไฟล์ที่เป็นรูปภาพได้อีกด้วย เมื่อใดที่ต้องการเรียกดูไฟล์ที่เป็นรูปภาพ (จะแสดงเป็นภาพขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า thumbnail ) ผู้ใช้งานสามารถที่จะดับเบิลคลิกและเปิดดูได้ทันที
 2)ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม ( Uninstaller ) การติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ต้องการลบหรือกำจัด  โปรแกรมต่าง ๆ เหล่านี้ออกไปจากระบบ สามารถเรียกใช้โปรแกรมประเภทการลบทิ้งนี้ได้เลยทันที ซึ่งทำงานได้อย่าง  ง่ายดาย สำหรับในระบบปฏิบัติการ Windows XP จะอยู่ที่ Add/Remove Programs ในส่วนของ Control Panel
 3)ประเภทการสแกนดิสก์ ( Disk Scanner ) เมื่อใดก็ตามที่อุปกรณ์สำรองข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือ  ฟล็อปปี้ดิสก์เกิดปัญหาในการใช้งานขึ้น ยูทิลิตี้ประเภทนี้จะทำการสแกนหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านั้น พร้อมทั้งหาทางแก้  ปัญหานั้นให้ด้วย ยูทิลิตี้ประเภทสแกนดิสก์ อาจพบเห็นได้กับการเอาไปใช้เพื่อสแกนหาไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้งาน (  unnecessary files ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เป็นจำนวนมากเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานไปสักระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเพื่อให้มี  พื้นที่เก็บบันทึกข้อมูลเหลือคืนมา เราอาจเลือกใช้โปรแกรม เช่น Disk Cleanup ทำการสำรวจและกำจัดไฟล์เหล่านั้นออก  ไปจากระบบเพื่อกันพื้นที่ไว้เก็บข้อมูลที่จำเป็นใหม่ ๆ อีกได้
 4)ประเภทการจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล ( Disk Defragmenter ) เป็นยูทิลิตี้ที่มีประโยชน์ในการใช้งานอย่างมาก เพราะดิสก์  ของคอมพิวเตอร์นั้นเมื่อมีการเรียกใช้งานอยู่บ่อย ๆ จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของไฟล์ข้อมูลอย่างไม่เป็นระเบียบและ  ไม่ได้อยู่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันเมื่อต้องการเรียกใช้อีกในภายหลังจะทำให้เวลาในการดึงข้อมูลนั้น ๆ ช้าลง โปรแกรมยูทิลิตี้  ประเภทนี้จะคอยทำหน้าที่จัดเรียงไฟล์เหล่านี้เสียใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น เพื่อช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวง่ายและ  เร็วกว่าเดิม
 5)ประเภทรักษาหน้าจอ ( Screen Saver ) จอภาพของคอมพิวเตอร์ เมื่อเราเปิดทำงานและปล่อยทิ้งให้แสดงภาพเดิมโดย  ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ เกิดขึ้นเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดรอยไหม้บนสารเรืองแสงที่ฉาบผิวจอและไม่สามารถลบหายออก  ไปได้ เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานเข้าอาจส่งผลให้อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สั้นลงตามไปด้วย โปรแกรมประเภท  รักษาหน้าจอหรือ Screen Saver จะมาช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถตั้งค่าระยะ  เวลาให้โปรแกรมตรวจเช็คและเริ่มทำงานได้หากไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ ของจอภาพ เช่น 5 นาที หรือ 10 นาที เป็นต้น    เมื่อเราทำการขยับเมาส์หรือเริ่มที่จะนั่งทำงานใหม่ โปรแกรมดังกล่าวก็จะหายไป ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับรักษา  หน้าจอสามารถเลือกลวดลายหรือรูปแบบภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานของบุคคลที่  สาม อาจใช้การตั้งรหัสผ่านของโปรแกรมรักษาหน้าจอเอาไว้ด้วย-ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ ( OS Utility Programs ) เป็นยูทิลิตี้ที่มักจะมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอยกตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่ใช้ใน Windows ที่ค่อนข้างจะรู้จักกันดี ตัวอย่างโปรเเกรม มีดังนี้
1)โปรแกรมบีบอัดไฟล์( File Compression Utility ) เป็นลักษณะของโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงนั้นเอง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์( zip files ) ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, Winzip เป็นต้น และแม้ในตัว Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ระดับหนึ่งอยู่แล้ว เรียกว่าเป็น Compressed Folder นั่นเอง
2)โปรแกรมไฟร์วอลล์ ( Firewall ) การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายที่แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีบุกรุกเข้ามาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกดังกล่าว เราสามารถหาโปรแกรมประเภทไฟร์วอลล์ (เนื่องจากใช้เฉพาะส่วนตัวบนเครื่องเดียว บางครั้งจึงเรียกว่าpersonal firewall ) มาป้องกันได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติเกี่ยวกับป้องกันการบุกรุก การติดตาม ตลอดจนตรวจสอบรายการต่าง ๆ ของผู้บุกรุกได้
3)โปรแกรมป้องกันไวรัส ( Anti Virus Program ) การใช้งานคอมพิวเตอร์ร่วมกับบุคคลอื่นหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับระบบเครือข่าย สิ่งที่เป็นปัญหาและพบบ่อยมากที่สุดก็คือไวรัสคอมพิวเตอร์ ( computer virus ) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งประเภทหนึ่งที่มีผู้ที่ไม่ประสงค์ดีเขียนขึ้นมาเพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ลดลงหรือไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้ จึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมไว้ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเรียกว่า โปรแกรมป้องกันไวรัส(anti virus program) การใช้คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปควรจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ภายในเครื่องด้วย อย่างไรก็ดีไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา โปรแกรมบางรุ่นอาจไม่สามารถตรวจพบไวรัสบางตัวได้ซึ่งเป็นเพราะว่าผลิตขึ้นมาก่อนที่ไวรัสตัวนั้นจะแพร่กระจาย ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องอัพเดทข้อมูลบอกให้กับโปรแกรมเหล่านี้ทราบด้วยเพื่อให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง (โปรแกรมป้องกันไวรัสจะมีส่วนของการอัพเดทข้อมูลแบบออนไลน์จากเว็บของเจ้าของโปรแกรมให้กับผู้ใช้ไว้ด้วยเสมอ)2.3การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีข้อกำหนดความต้องการของอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตัดสินใจก่อนที่จะติกตั้งโปรเเกรมหรือเปลี่ยนเเปลงโปรเเกรม มีดังนี้
-สำรวจความต้องการใช้โปรเเกรมประยุกต์ของผู้ใช้ว่า โปรเเกรมประยุกต์ที่ต้องการใช้นั้นใช้กับระบบปฏิบัติการใด
-สำรวจความเหมาะสมกับฮาร์ดเเวร์ โดยเฉพาะหน่วยประมวลผลกลาง ขนาดความจุของหย่วยความจำหลัก เเละขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกชนิดจะบอกคุณลักษณะของระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ(System Requirement)ไว้เสมอ
-งบประมาณในการจัดซื้อระบบปฏิบัติการ
-ศึกษาข้อมูลการให้บริการหลังการขายเเละระยะเวลาในการรับประกัน
3.ซอฟต์เเวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  คือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น เพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้า
คงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น  การทำงานใดๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
       ซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้รับความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกวงการ ความนิยมส่วนหนึ่งมาจาก ขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นๆ เพราะซอฟต์แวร์ที่ผลิตออกจำหน่าย ต่างพยายามแข่งขันกันหลายๆ ด้าน เช่น เรียนรู้และใช้งานได้ง่าย สนับสนุนให้ใช้กับเครื่องพิมพ์ได้ดี มีคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์ที่อ่านเข้าใจง่าย ให้วิธีหรือขั้นตอนที่อธิบายไว้อย่างชัดเจน และมีระบบโอนย้ายข้อมูลเข้าออกกับซอฟต์แวร์อื่นได้ง่าย ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
3.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
3.2ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งานทั่วไป ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 6 กลุ่มใหญ ได้แก่
-ซอฟต์เเวร์จัดการธานข้อมูล(Database Management Software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน การสร้างรายงานผล หรือสรุปผลของข้อมูลที่ผ่านการประมวลแล้ว ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานทั้งหลายได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้
          ในซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บเป็นตารางความสัมพันธ์ (relation) ซึ่งในฐานข้อมูลหนึ่งๆ จะมีตารางความสัมพันธ์ได้หลายตาราง และในแต่ละตารางความสัมพันธ์ก็จะมีได้หลายลักษณะประจำ ( attribute ) ในการสร้างลักษณะประจำนั้นจะมีการกำหนดชนิดของลักษณะประจำ และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ เช่น รูปแบบ และความยาวของเขตข้อมูล เป็นต้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องกำหนดลักษณะประจำ 1 ตัวให้เป็นเขตกุญแจหลัก (primary key) ของตารางความสัมพันธ์ด้วย เมื่อกำหนดลักษณะประจำในตารางความสัมพันธ์แล้ว ก็จะสามารถเติมข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในแต่ละแถวของตารางความสัมพันธ์ เราเรียกว่า เอนทิตี้ (entity) 
          นอกจากนั้นซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลยังมีในส่วนของพจนานุกรมข้อมูล ซึ่งจะบอกรายละเอียดของตารางความสัมพันธ์ เช่นบอกชื่อตารางความสัมพันธ์ จำนวน รายชื่อคุณลักษณะประจำ และเขตกุญแจหลัก เราสามารถสร้างดัชนีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูล โดยประกอบด้วยข้อมูลที่แสดงตำแหน่งของข้อมูลจากค่าที่กำหนด และยังสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของตารางข้อมูล สร้างรายงาน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ โครงสร้างและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวก ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลบางซอฟต์แวร์ก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลที่สร้างจากซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลอื่นได้ 
          ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ตัวอย่างของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น ไมโครซอฟต์แอกเซส ดีเบส และ ฟอกซ์เบส นอกจากนี้ยังมีระบบจัดการฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการอื่น เช่น บนระบบลีนุกซ์มีซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นโปรแกรมที่ใช้ฟรี เช่น มายเอสคิวแอล, โพสเกรส เอสคิวแอล, พีคิวแอล หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นซอฟต์แวร์การค้า เช่น ดีบีทู, อินฟอร์มิก, อินเกรส, ออราเคิล และไซเบส เป็นต้น
 -ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (Word Processing Software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
-
ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ (Calculation Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หากผู้ใช้ต้องการสร้างคำสั่งหรือสูตรเองก็สามารถดำเนินการได้ และสามารถสร้างคำสั่งพิเศษที่เรียกว่า มาโคร ในการใช้งานเฉพาะได้ นอกจากนี้โปรแกรมตารางทำงานยังสามารถสร้างกราฟ แผนภูมิสำหรับนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้น และอื่นๆ
          ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ ได้อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เช่น ไมโครซอฟต์เอกเซล โลตัส123 และซอฟต์แวร์ตารางทำงานของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
          การใช้งานโปรแกรมตารางทำงานจะอ้างถึงสดมภ์และแถว กล่าวคือข้อมูลหรือการคำนวณต่างๆ จะใส่ไว้ในเซลซึ่งเกิดจากสดมภ์และแถว โดยตำแหน่งของแต่ละเซลจะถูกกำหนดด้วย หมายเลขของสดมภ์และแถว เช่น จากรูปด้านล่าง ข้อความ สสวท อยู่ในเซล แสดงว่า ตำแหน่งเซลนี้อยู่สดมภ์ที่ B และแถวที่ 5 
-ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) เป็นอีกซอฟต์แวร์หนึ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ซอฟต์แวร์นำเสนอช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และทำให้การนำเสนอมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สามารถแสดงข้อความในลักษณะที่สื่อความได้ง่าย ด้วยเครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ใช้งาน ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์โดยประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและอื่นๆ ซอฟต์แวร์นำเสนอ ทั้งซอฟต์แวร์ชุดปลาดาวหรือซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์นั้นมีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดปลาดาวสามารถเปิดแฟ้มที่สร้างจากไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์มาแก้ไขได้ ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ วาดภาพโดยใช้เครื่องมือสำเร็จที่ซอฟต์แวร์มีให้ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ และ ซอฟต์แวร์นำเสนอของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
-
ซอฟต์แวร์กราฟิก (graphic software) ซอฟต์แวร์กราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้าง ออกแบบ วาดหรือจัดแต่ง เอกสารหรือรูปภาพ ซึ่งซอฟต์แวร์นี้สามารถสร้างงานได้รวดเร็ว มีคุณภาพ และมีปริมาณมาก ง่ายต่อการนำไปใช้ ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์กราฟิกจำนวนมากเช่น เพนต์ โฟโทชอป เป็นต้น
-
ซอฟต์แวร์สื่อสารและค้นหาข้อมูล ( data communication and discovery software) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก ซึ่งให้ทั้งความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลข่าวสาร การซื้อขายสินค้า การศึกษา โดยใช้ซอฟต์แวร์สื่อสารเชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหาระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้
          ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ electronic mail) เป็นโปรแกรมที่ใช้เชื่อมโยงเอกสารระหว่างกันโดยสามารถส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วทั้งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันหรือต่างกัน ตัวอย่างโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาจากทั้งองค์กรและบริษัทเพิ่มเติม มีทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการค้าและแจกฟรี เช่น เนสเคป และเอาท์ลุก เป็นต้น 
 ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีเป็นจำนวนมาก ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูลจะช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เราสามารถค้นหาข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ เช่น ไมโครซอฟต์เอ็กพลอเลอร์ เนสเคป และโอเปร่า เป็นต้น*การเลือกใช้ซอฟต์เเวร์ประยุกต์
1)สำรวจงานที่ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์เเวร์อย่างละเอียดว่าลักษณะงานเเบบใด
2)สำรวจฮาร์ดเเวร์เเละระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
3)ทดลองใช้ซอฟต์เเวร์แย่างน้อย 15 นาที เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งาน
4)ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟต์เเวร์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน
5)ศึกษาข้อมูลบริการหลังการขายเเละระยะเวลาในการรับประกัน

6)ทำความคุ้นเคยกับการใช้ซอฟต์เเวร์ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้งานเเละควรเลือกบรษัทผู้ผลิตซอฟต์เเวร์ ที่เปิด    โอกาศให้คืนซอฟต์เเวร์ที่ซื้อไปไม่น้อยกว่า 30 วัน  
4.การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน
การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1) แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready-made software) เป็นวิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านทางร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านระบบแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
2) แบบว่าจ้างทำ (Customized or tailor-made software) เป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการผลิตซอฟแวร์ขึ้นมาใช้เอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟแวร์ใหเตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
3) แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลงไป เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบต็มๆจากบริษัทผู้ผลิตต่อไป
4) แบบทดลองใช้งานฟรี (Freeware) เป็นโปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
5) แบบโอเพนซอร์ซ (Open source) เป็นวิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้ 

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พ.ร.บคอมพิวเตอร์




 
เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านของการศึกษา โดยเฉพาะการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ในฐานะผู้ออกแบบและพัฒนานั้นจะต้องคำนึงถึงความถูกต้องเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องรู้กฎหมาย และมีความรอบคอบในการทำงานและระวังให้มากขึ้นอ่านต่อ